ทำไมหอนาฬิกา Big Ben ถึงต้องถูกหยุดชั่วคราว?

ในปี 2017 หน้านี้ หอนาฬิกา Big Ben ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันโด่งดังของอังกฤษ จะต้องถูกทำการหยุดตีระฆังบอกเวลาเป็นการชั่วคราว หลังจากที่ ทำหน้าที่ตีบอกเวลามาอย่างต่อเนื่องนานนับ 157 ปี ด้วยเหตุผลที่ว่าระฆังบิ๊กเบนนี้ทำหน้าที่ตีบอกเป็นเวลามานานมากจึงต้องทำการซ่อมเเซมเพื่อไม่ให้ระบบกลไกได้รับความเสียหาย ซึ่งระยะเวลาในการซ่อมเเซมนี้จะใช้เวลาถึง 3 ปีเลยนะคะ เเต่ทีมงานก็จะพยายามซ่อมระฆังบิ๊กเบนให้เสร็จภายในเวลาสั้นที่สุด  ซึ่งขั้นตอนในการซ่อมเเซมครั้งนี้จะ ทีมงานจะต้อง ทำการลอกสีดำเเละทองที่ทาเคลือบพื้นผิวระฆังในการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อกว่า 30 ปีก่อน ให้กลับคืนสู่สภาพดั้งเดิมเหมือนในยุควิคตอเรียน รวมทั้งจะซ่อมแซมสปริง บูรณะดวงไฟบนยอดหอนาฬิกา และลูกตุ้มนาฬิกาให้มีความเที่ยงตรง อีกทั้งยังติดตั้งลิฟต์และห้องน้ำไว้บนหอนาฬิกาด้วยเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกับบรรยากาศรอบๆของหอนาฬิกาได้อีกด้วยค่ะ เเละตามโครงการตามโครงการบูรณปฏิสังขรณ์หอนาฬิกา ที่จะใช้งบประมาณทิ้งสิ้น 29 ล้านปอนด์ หรือราว 1,500 ล้านบาทเลยทีเดียวค่ะ

ทีนี้เรามาดูกันค่ะว่า ประวัติความเป็นมาของหอนาฬิกา Big Ben นี้มีที่มายังไงกันนะ

หอนฬิกา Big Ben อยู่ประเทศ อังกฤษ ในกรุง London ซึ่งมีขนาด: สูง 180 ฟุต หน้าปัดกว้าง 23 ฟุต ตัวเลขบอกเวลายาว 24 นิ้ว ระฆังตีหนักถึง 14 ตัน ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก มีขนาดใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่3 และยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของประเทศอังกฤษอีกด้วยค่ะ คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า Big Ben นี้คือชื่อของหอนาฬิกาอันใหญ่ยักษ์อันนี้ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะคะ มันคือชื่อของระฆังที่คอยตีบอกเวลาให้เรานั่นเอง และมีน้ำหนักถึง 13,760 กิโลกรัมเลยนะคะ

Cleaning_Big_Benที่หอนาฬิกาจะมีระฆังเล็กอยู่ซึ่งจะมีการตีทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมงจะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิกเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ  *สำหรับเสียงของระฆัง (เฉพาะเสียง ตีบอกเวลา 12:00 น. และ 24:00 น.)

นาฬิกาของหอนี้มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรง โดยกลไกนาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน และจอร์จ แอรี ต่อมาเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ เป็นผู้สร้างกลไกนาฬิกา ถึงกระนั้นเดนต์ต้องถึงแก่กรรมก่อนที่นาฬิกาจะเสร็จ จนต้องให้เฟรเดอริก เดนต์ ผู้บุตรนอกสมรสเป็นผู้สร้างต่อจนสำเร็จ อย่างไรก็ดี กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ

เดิมที นาฬิกาที่ออกแบบไว้ใช้กลไกขาขัดเฟือง (deadbeat escapement) ซึ่งเป็นกลไกที่อาศัยขาเหล็กสองขา สลับกันไกวชนฟันเฟือง ซึ่งการชนเฟืองบ่อย ๆ นี้เองที่ทำให้ฟันเฟืองสึกหรอง่าย ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้กลไกลูกตุ้มชนตัวขัด (gravity displacement) เมื่อลูกตุ้มแกว่งชนตัวขัดหนึ่ง ตัวขัดนั้นจะปล่อยออกและทำให้เฟืองกลหมุนลงไปชั่วขณะ แต่ตัวยึดที่เฟืองกลจะไปขัดกับขาขัดอีกอัน พอลูกตุ้มเด้งกลับก็จะปล่อยขาขัดอีกอันให้เลื่อนที่ ทั้งนี้ เฟืองกลจะต่อเข้ากับลานที่ทำจากรอกคล้องตุ้มน้ำหนัก เมื่อถึงเวลาจะต้องกว้านรอกเป็นระยะ ๆ ลูกตุ้มที่ใช้ในหอนี้ มีความยาวทั้งสิ้น 4 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม ไกวไปกลับใช้เวลา 2 วินาที บนลูกตุ้มจะมีหลักเสียบเหรียญสตางค์ของอังกฤษเพื่อปรับตั้งเวลา หากใส่มาก ตำแหน่งศูนย์กลางมวลจะเลื่อนขึ้นเป็นผลให้ระยะเวลาการแกว่งสั้นลง (ลูกตุ้มไกวเร็วขึ้น) ในทางกลับกันถ้าเอาออก ก็จะได้ระยะเวลาการแกว่งมากขั้น (ลูกตุ้มไกวช้าลง)

กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกา ประกอบด้วยเฟืองกล เฟืองระฆังบริวาร และเฟืองระฆังใหญ่ทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความเป็นสีทองว่า “THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE, CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C.” แปลเป็นไทยได้ว่า “นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน”

Palace-of-Westminster-0268

เครดิตข้อมูลจาก:

www.ilovetogo.com

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

บทความ อื่นๆ